ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
กองทัพเรือพื้นที่สัตหีบจัดการประชุมประจำปี เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าราชการทหารเรือ ร่วมกับทีมโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์, ภาคประชาชน, นักธุรกิจ, และตัวแทนรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง หัวข้อเสวนากรอบความร่วมมือและแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Estern Economic Corridor) โดยเฉพาะจุดเด่นด้านสุขภาพ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมและหลังการประชุมมีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่องของบทบาทหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ถูกกำหนดขึ้นและเริ่มมีการดำเนินการต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยมีตัวแทนทุกภาคส่วน เช่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์, คณะกรรมการบริหารบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), ตัวเเทนนักวิชาการ และภาคเศรษฐกิจ, หัวหน้าฝ่ายวิศวกรไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง, ผู้เชี่ยวชาญด้านการเเพทย์เเละการบริการสุขภาพด้านต่างๆ เป็นต้น ในโอกาสนึ้ นาวาโท นายแพทย์ เทวเจษฎา ภาเรือง ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ เเละยังนั่งอนุกรรมาธิการหาเเนวทางศึกษาและแนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนฯ ยังร่วมเป็นวิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุมเสวนา
นาวาโท นายแพทย์ เทวเจษฎา ภาเรือง ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ให้ความเห็นแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ทางโครงสร้างทางพื้นฐาน พื้นที่ชุมชน และการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ
“การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแบ่งแยกย่อยเป็น 12 สาขาความสำคัญในส่วนของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแบ่งแยกย่อยเป็น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามความสำคัญต่างๆยกตัวอย่างเช่น การบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมการแพทย์วงจร หรือ ที่สำคัญอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น“
“ในส่วนของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศนั้น เน้นในเรื่องของการพัฒนา วิจัย เพิ่มศักยภาพทางด้านทางทหารใช้เทคโนโลยีใหม่ใหม่ ปฏิรูปขีดความสามารถทางด้านการป้องกันและและการรบทางการทหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ที่เน้นการใช้กองกำลังทางการทหารลดลง ใช้ระบบปฏิบัติการสมองอัจฉริยะ (AI) หรือ ยุทธโธปกรณ์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีต่างๆมากขึ้น”
“ด้านสุขภาพครบวงจร ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบนานาประเทศในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณสุขที่มีบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานการบริการโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนติดอันดับต้นต้นของโลก เป็นที่ยอมรับต่อนานาประเทศมายาวนาน ที่ผ่านมามีการให้บริการให้กับผู้ป่วยต่างชาติโดยมาตรฐานการรักษาในระดับสากล Joint Commission International (JCI) ซึ่งมีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานนี้มากกว่า 60 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เเละเรายังเคยติดอันดับ 6 ของโลก ด้านระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก (นิตยสาร CEO WORLD 2562) เป็นเครื่องมือการันตีถึงขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศในการดึงผู้ใช้บริการจากต่างประเทศ เพิ่มรายได้ทั้งทางด้านสุขภาพทางตรงและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวโดยทางอ้อม อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปจนถึง เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ครบวงจรรวมทั้งการเสริมสุขภาพด้านเวลล์เนสตามเทรนในขณะนึ้ นอกจากในกลุ่มผู้นิยมเดิมจากต่างชาติทั้งทางยุโรปและอเมริกา ในปัจจุบันยังมีชาวอาหรับ จีน อินเดีย รัสเซีย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักทางเศรษฐกิจพื้นฐานด้านสุขภาพ และยังผู้มีกลุ่มผู้มีกำลังจ่ายสูงในประเทศเพื่อนบ้านรอบข้าง ในมุมมองการพัฒนาในอนาคตต้องตอบโจทย์ถึงความชอบและลักษณะวัฒนธรรมของบุคคลในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มชาวอาหรับจะชอบความหรูหรา การบริการที่เกินมาตรฐานทางสุขภาพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการเสริมด้านต่างๆตอบโจทย์ต่อครอบครัวกลุ่มใหญ่ที่ติดตามมากับผู้ป่วย”
”หากพูดถึงการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกนั้น ตอนนี้มีหลายภาคส่วนได้ดำเนินการตามขั้นตอนแผนงานไปพอสมควรแล้ว หากแต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาร่วมกันต่อไปเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล“ นาวาโท นายเเพทย์ เทวเจษฎา ภาเรือง กล่าวความเห็นทิ้งทายที่ประชุม
แพนเค้ก เขมนิจ” รำบวงสรวงอลังการ พร้อมด้วย ”ธัญญ่า อาร์สยาม“ และลูกศิษย์ไทย-จีน ร่วมพิธีบวงสรวง มหาฤกษ์เบิกเนตรองค์อินทร์แปลงสี่หูห้าตา
ฟุตบอลการกุศลสมทบทุนสร้างหลวงพ่อบ้านแหลมองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
อบจ.สมุทรสงคราม มอบอุปกรณ์การแพทย์มูลค่าเกือบ5แสนบาทให้โรงพยาบาลนภาลัยตั้งศูนย์ยืมเครื่องมือแพทย์และกายอุปกรณ์