ผมพูดเรื่อง PM 2.5 มาตลอดเพราะเจอปัญหานี้กับตัวเอง ลูกของผม น้องอิชิ ก็แพ้ PM 2.5 ผื่นขึ้นหน้า ไอจามมาหลายปี เนื่องจากเด็กตัวเล็กนั้นภูมิคุ้มกันยังไม่มาก ผมก็เชื่อว่ายังมีเด็กน้อย ลูกที่น่ารักของคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านที่ได้รับอันตรายจากปัญหา PM 2.5 เช่นกัน
มีรายงานข่าวออกมาว่าปี 2565 ที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯ ได้สูดอากาศที่ดี เพียงแค่ 49 วัน คิดเป็น 13.42 %หรือประมาณเดือนครึ่งเท่านั้น แถมยังต้องสูดฝุ่น PM 2.5 เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง 1,224 มวนเลยทีเดียว
หลายท่านอาจจะสงสัยว่า บุหรี่ 1,224 ม้วนมากจากไหน ?
เมื่อปลาย ปี 2558 “ริชาร์ด เอ. มุลเลอร์” นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน และเอลิซาเบธ มุลเลอร์ ลูกสาว ได้มีนำเสนอการเปรียบเทียบ การสูดหายใจเอา PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย 22 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ใน 1 วัน เทียบเท่ากับ การสูบบุหรี่ 1 มวน เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเมื่อมีการเอานำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปีก่อนมาคำนวณเปรียบเทียบจะทำให้เราพบว่า ปีที่ผ่านมาเรา ฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมดจำนวน 1,224.77 มวน หรือเฉลี่ย 3.35 มวน/วัน เลยทีเดียวน่าห่วงมาก
ที่ผ่านมามีการออกมาตรการต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น แต่จากสถิติที่เปรียบเทียบพบว่าค่าฝุ่นในปี 2565 ลดลง 37 มวน จากปี 2564 ที่มีจำนวน 1261 มวน หรือลดไปจากปีก่อนหน้าเพียง 2.93% เท่านั้น แทบไม่ลดลงเลย
ถึงแม้ในความเป็นจริงควันพิษบุหรี่อาจจะมีสารพิษที่เป็นอันตรายมากกว่า แต่เราก็ละเลยอันตรายจาก PM 2.5 ไม่ได้จริงๆ งานวิจัยระบุว่าคนไทยเสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 ประมาณ 70,000 คนต่อปี ขณะที่องค์การอนามัยโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 สูงเป็น 4 เท่าของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก
หลาย ๆ ท่านก็บอกว่าปัญหานี้แก้ไม่ได้หรอก ยังไงก็ต้องทนอยู่กันไป ผมขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาของกรุงลอนดอนที่ในอดีตเคยเจอปัญหาฝุ่นพิษมาหนักมามากกว่าเราวันนี้เขาก็สามารถทำให้อากาศกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ถึงแม้จะใช้เวลาหลายสิบปี ในการเปลี่ยนจากฉายาจาก“City of fog” หรือเมืองแห่งหมอก มาเป็นเมืองที่อากาศสะอาดได้ จะทำก็ทำได้
ในปัจจุบันแค่อากาศสะอาดอย่างเดียวยังไม่พอเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน “ซาดิก ข่าน” นายกเทศมนตรีลอนดอนยังได้ตั้งเป้าหมายที่สูงกว่านั้นนั้นคือทำให้ “อากาศในเมืองนั้นบริสุทธิ์และปลอดภัย” โดยตั้งเป้า ลดระดับฝุ่น PM 2.5 ให้เหลือเพียง “10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร” ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในปี 2573 หรือ 2030 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินนโยบายต่าง ๆ อย่างจริงจังรู้ไว้ไม่เสียหาย เช่น
- การกำหนดเขตควบคุมการปล่อยมลพิษต่ำ (ULEZ) ซึ่งทำให้ค่า PM 2.5 ลดลง 27 % ใน 2 ปี
- ขยายเครือข่ายการตรวจสอบคุณภาพอากาศ เพื่อทราบจุดที่มีมลพิษได้ละเอียดขึ้น
- การขยายระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงมากขึ้น มีการดูแลควบคุมรถบัสและรถแท็กซี่ เพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการขนส่งบนท้องถนนซึ่งเป็นแหล่งปล่อย PM2.5 ในท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมืองและหลายประเทศที่เจอมาหนักกว่า แต่เขาก็ทำได้สำเร็จ ได้เวลาแล้วรึยังที่เราจะหยุดนิ่งเฉยกับปัญหานี้ มาร่วมกันแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังกัน เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยกันนะครับ
ขอบคุณ FB.เอ้ สุชัชวีร์
ที่ห้องประชุมวีไอพี กต.ตร.จว.นนทบุรี กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ดร.ปรเมศวร์ ชัยพัชรกุลพงษ์
191 รวบอดีตวิศวะปิโตเลียม ผันตัวค้ายา ซุกไอซ์ในถุงเมล็ดถั่วเหลือง
"ดร.ดำรงชัย และพล.ต.อ.ทวิชชาติร่วมกันจัดงานปีใหม่2568"